ประวัติของโรงเรียน

ประวัติของโรงเรียน โรงเรียนภูซางวิทยาคม เริ่มเปีดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2519 และทำพิธีเปิดอย่างเป็น ทางการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2519 เดิมตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่าสัก ตำบลภูชาง อำเภอเชียงคำ จังหวัด พะเยา โดยมีนายกิตติโชติ ห้อยยี่ภู่ ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ มีนักเรียนจำนวน 19 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้ย้ายโรงเรียนมายังที่ตั้งปัจุบัน ณ เลขที่ 318 หมู่ที่ 10 หมู่บ้านสบบง ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ 78 ไร่ 52 ตารางวา ติดทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1021

โรงเรียนภูชางวิทยาคม มีปรัชญาโรงเรียนคือ วิริเยน ทุกขมเจติ “บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร” มีคำขวัญประจำโรงเรียน คือ สามัคคี มีประชาธิปไตย รับใช้สังคม สีประจำโรงเรียน คือ น้ำเงิน – ขาว สัญลักษณ์ของโรงเรียน คือ องค์พระธาตุภูซาง และใช้อักษรย่อว่า ภ.ว.ค.

ปัจจุบันโรงเรียนภูซางวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4

สถานที่ตั้งของโรงเรียน เลขที่ 318 หมู่ที่ 10 หมู่บ้านสบบง ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา 56110

สถานที่ติดต่อ โทรศัพท์ (054) 445582 โทรสาร(054) 445645
เว็บไซต์ www.phusang.ac.th อีเมล์ [email protected]
ต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ระดับการศึกษาที่เปิดสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

สภาพทั่วไปของชุมชน อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา พื้นที่และภูมิประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 370.20 ตารางกิโลเมตรมีประชากรจำนวน 24.,414 คน (ปี พ.ศ.2559)การปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอภูซาง แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล 59 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลภูซาง 13 หมู่บ้าน ตำบลป่าสัก 10 หมู่บ้าน ตำบลทุ่งกล้วย 12 หมู่บ้าน ตำบลเชียงแรง 12 หมู่บ้าน ตำบลสบบง 12 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอภูชางประกอบด้วยองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลสบบง องค์การบริหารส่วนตำบลภูซาง องค์การบริหาร ส่วนตำบลป่าสัก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกล้วย องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงแรง ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาวสภาพชุมชนรอบ บริเวณโรงเรียน(เทศบาลตำบลสบบง) มีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งชนบทกึ่งเมืองมีประชากรประมาณ 7,583 คน โรงเรียนอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอภูซางประมาณ 3 กิโลมตร ห่างจากตลาดสดสบบงประมาณ 1 กิโลเมตร อาชีพหลักของชุมชนคือ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การสืบชะตา การบายศรีสู่ขวัญ

อาณาเขตติดต่อ อำเภอภูซางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการ ปกครองข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกติดต่อกับแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาและอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย คำขวัญประจำอำเภอประตูสู่หลวงพระบาง ยางพาราชั้นเลิศ แหล่งกำเนิดน้ำตกอุ่น หวานละมุนน้ำอ้อยสบบง สูงส่งถิ่นพระธาตุ ดลาดชายแดนไทย-ลาว ประวัติอำเภอภูซาง ท้องที่อำเภอภูซางเดิมเป็นส่วนหนึ่งของ อำเภอเชียงคำ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กึ่งอำเภอภูซาง ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิกุนายน พ.ศ. 2539โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกันและ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอภูซาง ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับ ตั้งแต่วันที่ 8 กันยนยน ปีเดียวกัน